อุบัติภัย ในที่นี้หมายถึง ภัยอันตรายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดคิดไว้ก่อน
เป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน เป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ
และสูญเสียชีวิตได้
ส่วนคำว่า สถานการณ์เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัย
หมายถึง สถานการณ์ต่าง ๆ
ทั้งที่เกิดจากตัวบุคคลหรือจากสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยส่งผลให้เกิดอุบัติภัยขึ้น
เช่น ความประมาทของบุคคล การชำรุดของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
การเกิดสภาพของทัศนวิสัยที่ไม่เอื้อต่อการจราจร เป็นต้น
จากที่ได้กล่าวผ่านมาพบว่า อุบัติภัยเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ หลายกรณี ในระดับชั้นนี้จะกล่าวถึงสถานการณ์เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยในโรงเรียนและชุมชน เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจ และนำมาใช้เป็นแนวทางในการป้องกันอุบัติภัยได้ต่อไป
สถานการณ์เกิดอุบัติภัยในชุมชน
สถานการณ์เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยในชุมชน เกิดจากหลายสาเหตุซึ่งอาจสรุปได้ ดังนี้
1. สถานการณ์เสี่ยงที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย หรือกระทำการโดยประมาท เช่น ทิ้งก้นบุหรี่โดยไม่ดับไฟก่อน จุดธูปเทียนบูชาพระแล้วไม่ดับให้สนิท การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ขับรถด้วยความเร็วสูงในชุมชนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น
2. สถานการณ์เสี่ยงที่เกิดจากสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เช่น การปลูกบ้านเรือนอยู่อย่างแออัดไม่ถูกสุขลักษณะ หรืออยู่ใกล้แหล่งโทรม อุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดแล้วไม่รีบซ่อม เก็บเชื้อเพลิงไว้ในที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น
แม้อุบัติภัยทั้งในโรงเรียนและในชุมชน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยมีสถานการณ์ต่าง ๆ รอบตัว เป็นปัจจัยสำคัญ แต่อุบัติภัยสามารถที่จะป้องกันได้โดยเริ่มจากการที่เราต้องรู้จักสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นกับตัวเองก่อน แล้วขยายแนวคิดเพื่อสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นกับชุมชน
จากที่ได้กล่าวผ่านมาพบว่า อุบัติภัยเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ หลายกรณี ในระดับชั้นนี้จะกล่าวถึงสถานการณ์เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยในโรงเรียนและชุมชน เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจ และนำมาใช้เป็นแนวทางในการป้องกันอุบัติภัยได้ต่อไป
สถานการณ์เกิดอุบัติภัยในชุมชน
สถานการณ์เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยในชุมชน เกิดจากหลายสาเหตุซึ่งอาจสรุปได้ ดังนี้
1. สถานการณ์เสี่ยงที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย หรือกระทำการโดยประมาท เช่น ทิ้งก้นบุหรี่โดยไม่ดับไฟก่อน จุดธูปเทียนบูชาพระแล้วไม่ดับให้สนิท การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ขับรถด้วยความเร็วสูงในชุมชนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น
2. สถานการณ์เสี่ยงที่เกิดจากสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เช่น การปลูกบ้านเรือนอยู่อย่างแออัดไม่ถูกสุขลักษณะ หรืออยู่ใกล้แหล่งโทรม อุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดแล้วไม่รีบซ่อม เก็บเชื้อเพลิงไว้ในที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น
แม้อุบัติภัยทั้งในโรงเรียนและในชุมชน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยมีสถานการณ์ต่าง ๆ รอบตัว เป็นปัจจัยสำคัญ แต่อุบัติภัยสามารถที่จะป้องกันได้โดยเริ่มจากการที่เราต้องรู้จักสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นกับตัวเองก่อน แล้วขยายแนวคิดเพื่อสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นกับชุมชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น